วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2558

Light Reaction

 ปฏิกิริยาใช้แสง 

Photobucket - Video and Image Hosting


การสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นการใช้พลังงานแสงในการสังเคราะห์สาร โดยพลังงานแสงที่พืชได้รับจะถูกสะสมอยู่ในรููปของ ATP และ NADPH กระบวนการนี้เรียกว่าปฏิกิริยาที่ต้องใช้แสง หรือlightreactionซึ่งพืชจะนำสารสองตัวที่ได้นี้ไปถ่ายทอดพลังงานเพื่อช่วยตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ในปฏิกิริยาที่ไม่ต้องใช้แสงหรือdark reaction หรือ Calvin cycle กลายเป็นน้ำตาลและสารประกอบอื่นๆ ในบทนี้จะได้กล่าวถึงปฏิกิริยาที่ต้องใช้แสงเราได้ทราบมาแล้วว่าในใบไม้มีคลอโรพลาสต์ ซึ่งประกอบด้วยเยื่อหุ้ม 2 ชั้น ภายในมีของเหลวเรียกว่า สโตรมา (stroma) ซึ่งเป็นแหล่งที่มีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาที่ไม่ต้องใช้แสงที่บริเวณเยื่อหุ้มชั้นในจะมีโครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายถุงน้ำเรียกว่า ไทลาคอยด์ (thylakoid) ซึ่งจะเรียงซ้อนกันเป็นตั้งเรียกว่ากรานัม(granum)และพบว่าในคลอโรพลาสต์มีกรานัมกระจายอยู่ระหว่างกรานัมมีท่อไทลาคอยด์เชื่อมติดต่อกันเรียกว่าสโตรมาไทลาคอยด์(stromalthylakoid)บนเยื่อหุ้มไทลาคอยด์มีกลุ่มของสารสีที่ทำหน้าที่รับพลังงานจากแสงเพื่อใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงอยู่จำนวนมากแต่ละกลุ่มจะประกอบด้วยสารสีหลายชนิดในพืชชั้นสูงประกอบด้วยคลอโรฟิลส์ เอ คลอโรฟิลล์ บี และแคโรทีนอยด์

แสงแดดที่ส่องกระทบใบไม้สีเขียว บางส่วนจะสะท้อนออกไป บางส่วนทะลุผ่านใบไม้ลงไป และบางส่วนเท่านั้นที่ถูกดูดไว้โดยสารสี  สารสี เช่น คลอโรฟิลล์ส่วนใหญ่ทำหน้าที่ดูดแสง และถ่ายทอดพลังงานของแสงไปเป็นทอดๆ ในทำนองคล้ายกับส่วนบนของกรวยรับพลังงานเพื่อส่งไปยังก้นกรวย เพื่อส่งไปให้คลอโรฟิลล์และสารสีที่อยู่ตรงศูนย์เกิดปฏิกิริยา (reaction center ของระบบแสง I และ II) อนึ่ง จะมีการสูญเสียพลังงานของแสงในรูปของการเรืองแสงและความร้อน

How to Make a Paper Bag

Photobucket




ถุงกระดาษอเนกประสงค์ทำมือ

การทำถุงกระดาษเช่นนี้เป็นวิธีการช่วยลดภาวะโลกร้อนอีกทางหนึ่ง ลดการใช้พลาสติกซึ่งมีกระบวนการผลิตเป็นมลพิษต่อโลกของเรา 

ถุงกระดาษนั้นทำง่าย เหมาะกับใส่ของจุกจิกเราได้สบายๆ พกง่ายและดูดีไปอีกแบบ เหมาะสำหรับสาววัยรุ่นจนถึงวัยทำงาน

ขั้นตอนการทำก็ง่ายๆ อุกปรณ์ก็น้อย ใช้เวลาทำก้น้อย สามารถทำตามได้ง่ายๆค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2558

พลังแห่ง...แรงบันดาลใจ อาจารย์ใหญ่ ครูผู้ให้

    

ครู คือผู้ให้ ผู้เติมเต็ม และผู้มีเมตตา
ใครคือครู ครูคือใคร ในวันนี้
ใช่อยู่ที่ ปริญญา มหาศาล
ใช่อยู่ที่ เรียกว่า ครูอาจารย์
ใช่อยู่นาน สอนนาน ในโรงเรียน
ครูคือผู้ ชี้นำ ทางความคิด
ให้รู้ถูก รู้ผิด คิดอ่านเขียน
ให้รู้ทุกข์ รู้ยาก รู้พากเพียร
ให้รู้เปลี่ยน แปลงสู้ รู้สร้างงาน
ครูคือผู้ ยกระดับ วิญญาณมนุษย์
ให้สูงสุด กว่าสัตว์ เดรัจฉาน
ปลุกสำนึก สั่งสม อุดมการณ์
มีดวงมาน เพื่อมวลชน ใช่ตนเอง
ครูจึงเป็น นักสร้าง ผู้ใหญ่ยิ่ง
สร้างคนจริง สร้างคนกล้า สร้างคนเก่ง
สร้างคนให้ ได้เป็นตัว ของตัวเอง
   ครูย่อมอยู่ในฐานะของผู้ให้มิใช่ผู้รับ มือของครูจึงเป็นมือบน มิใช่มือล่าง เป็นมือที่ประเสริฐและมีเกียรติ
หลายคนได้ให้คำนิยามมากมายที่เกี่ยวกับคำว่า ครู บางคนเปรียบครูเป็นเหมือนกับแสงเทียน ที่คอยส่องแสงสว่างไปยังเส้นทางที่ดี บางคนอาจจะเปรียบครูเป็นเหมือนกับเรือลำหนึ่ง ที่จะนำพาเราไปสู่จุดหมายปลายทางข้างหน้า ด้วยความเห็นที่แตกต่างกัน แต่ละคนย่อมที่จะมีความต้องการครูในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ฉันเองก็มีความคิดและความคาดหวังที่อยากจะศึกษากับครูในอุดมคติของฉัน เช่นเดียวกัน ซึ่งครูในอุดมคติของฉันจะต้องเป็นครูที่มี จิตใจโอบอ้อมอารี สามารถให้ความรู้ กับนักเรียนนักศึกษา ได้อย่างเต็มที่ ดูแลเอาใจใส่นักศึกษาและคอยให้คำปรึกษาเวลานักศึกษามีปัญหาและพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ สามารถสื่อสารกับนักเรียน นักศึกษาในขณะที่ทำการสอนได้อย่างเข้าใจ มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบในการสอนอยู่เสมอ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นเหล่านั้นมาทำการปรับปรุงแก้ไขการสอนของตน และในวิดีโอนี้แสดงให้เห็นถึงการให้ของครูในขณะที่ยังมีลมหายใจและหมดลมหายใจแล้ว ดังคำกล่าวที่ว่า "ฉันเป็นครู เมื่อตายไปก็ขอเป็นครูต่อไป"
   


วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2558

 คำตายที่ใช้กันในโลก Social  

       
Photobucket - Video and Image Hosting การทำความเข้าใจกับวัยรุ่นและวิวัฒนาการทางด้านภาษาเป็นเรื่องที่ต้องเปิดใจกว้างอย่างมาก เพราะเป็นเรื่องของช่องว่างระหว่างวัยและแฟชั่นภาษาที่อยู่ในเงื่อนไขของยุคสมัย
          
 Photobucket - Video and Image Hosting พจนานุกรมคำใหม่ เป็นพจนานุกรมภาษาไทยที่ราชบัณฑิตยสถานเรียบเรียงขึ้น มีเนื้อหารวบรวมและให้นิยามคำไทยต่างๆ ที่ไม่ปรากฏในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 โดยมักเป็นคำตลาด เช่น ศัพท์วัยรุ่นและสแลง ตลอดจนคำที่มีความหมายต่างจากในพจนานุกรมดังกล่าวด้วยถือว่าเป็นพัฒนาการของนักภาษาศาสตร์และนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ทางภาษาที่ดีเยี่ยมเรื่องหนึ่ง

 Photobucket - Video and Image Hosting โดยทางราชบัณฑิตยสถานตั้งคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมนี้เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2548 มีเป้าหมายจะเผยแพร่พจนานุกรมคำใหม่ทุกๆ 2 ปี โดยขอบเขตการเก็บคำใหม่ตามลักษณะต่างๆ 10 กลุ่ม
   
         1.คำที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น เนติบริกร, เคลียร์พื้นที่, เคลียร์หนี้, เคลียร์ปัญหา, ไข้หวัดนก, อัลไซเมอร์
         2.คำที่มีอยู่แล้วแต่มีการใช้ความหมายใหม่ เช่น งาบ, จอด, จิก, เด้ง, แห้ว, กลับลำ, จัดฉาก, โค้งสุดท้าย, เว้นวรรค
         3.คำเดิมที่มีการขยายคำใหม่ เช่น เมา-เมาปลิ้น, กรี๊ด-กรี๊ดสลบ, ดัน-ป๋าดัน, เจ๊ดัน, แหง-แหงแก๋, เด็ก-เด็กฝาก, เด็กแนว
         4.คำที่พจนานุกรมเก็บไว้แล้ว แต่ขาดตัวอย่างการใช้ ซึ่งทำให้เข้าใจความหมายไม่ชัดเจนพอ ก็จะเพิ่มตัวอย่างให้เห็นวิธี          การใช้ เช่น ขึ้นครู
         5.เป็นสำนวนหรือวิธีการเปรียบเทียบที่ยังไม่ได้เก็บไว้ เช่น ล้วงลูก, สะกิดต่อมฮา, ลมบ่จอย, ขายขนมจีบ, ขานรับ                  นโยบาย, กลืนเลือด, วางหาบ
         6.สำนวนที่มีความหมายใหม่ เช่น เจ้าโลก, เจ้าจำปี, เด็กๆ, แมงปอ, อวบอัด, ไม้ป่าเดียวกัน, ไม้ประดับ, เอกซเรย์
         7.เป็นคำเลียนเสียง คำแสดงท่าทาง หรือแสดงอารมณ์ เช่น หวือหวา, แหล็น, แพล็ม, อึมครึม, อึ้มทึ่ง
         8.คำภาษาต่างประเทศที่ใช้กันมาก เช่น เม้าส์, คีย์ข้อมูล, อีคิว, อีเมล, คำที่ยืมมาจากภาษาจีน เช่น โละ, เทียวไล้เทียว            ขื่อ, จุ๊ง, ล่องจุ๊น, ซือแป๋
         9.เป็นคำเก่า คำธรรมดา แต่หลุดหลงไปไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับ พ.ศ. 2542 เช่น กันเหนียว, ข้ามชาติ, ให้ทาง,            หืดขึ้นคอ, เสือปืนไว
         10.เป็นคำวัยรุ่น คำภาษาปาก ซึ่งมีความหมายและที่มาจากที่ต่างๆ เช่น ปิ๊ง, วีน, เว่อร์, ชิวชิว, โป๊ะเชะ, เฝ่ย, นิ้ง, ตึ๋ง              หนืด, ตึ้บ, แอ๊บแบ๊ว, จุ๊บุจุ๊บุ, ชิมิ
         
         ปัจจุบัน พจนานุกรมศัพท์คำใหม่มีออกมาแล้ว 3 เล่ม และมีการพิมพ์ออกมาซ้ำอย่างต่อเนื่อง โดยมีการทำงานเก็บรวบรวมคำศัพท์ในแต่ละปีอย่างเป็นระบบ มาดูปฏิกิริยาของศัพท์คำใหม่ที่ยิ่งทวีคูณเพิ่มมากขึ้นในยุคออนไลน์โซเชียลมีเดียรุ่งเรืองเฟื่องฟู
Photobucket ภาษาลำลองสะดวกปากสบายใจ
         เหตุผลของวัยรุ่นในการใช้ศัพท์คำใหม่คือพิมพ์ง่าย ดูทันสมัย เหมือนมีความคิดสร้างสรรค์ สามารถคิดค้นคำใหม่ๆ ขึ้นมาใช้ได้ ดูสบายๆ น่ารักอย่างไม่เป็นทางการ และมีทั้งเผลอพิมพ์ผิดและตั้งใจพิมพ์ผิด และเพื่อแสดงอารมณ์ในขณะนั้นโดยเฉพาะทำให้เพื่อนตลก
         การใช้ภาษาไทยพิมพ์นิยมยุคใหม่ของวัยรุ่นแบ่งเป็น 2 โหมดใหญ่ คือ โหมดที่ใช้เวลาพูดในกลุ่ม กับโหมดที่ใช้เวลาเขียนโดยเฉพาะเวลาออนไลน์ในโซเชียลมีเดีย การพูดและการเขียนก็จะเคียงคู่กันไป แถมยังมีประเภทคำทับศัพท์ คำอุทาน คำเติมท้ายด้วย โดยศัพท์ใหม่จะกร่อนเสียงให้สั้นลงหรือมีการลากเสียงให้ยาวขึ้นเพื่อเน้นอารมณ์ความรู้สึกจากคำศัพท์ที่ถูกต้องตามปกติ อาจจะเรียกว่าโหมดแผลงเพี้ยนเสียงก็ได้ อาทิ สัตว์ ก็จะเขียนหรือพูดใหม่ว่า สาด, สรัด, แสด/ตัวเอง ก็จะแผลงว่า เตง หรือ ตะเอง/ขอบคุณ ก็แปลงเป็น ขอบคุง
         เทรนด์ยอดนิยมที่ง่ายที่สุดของวัยรุ่นในการสร้างศัพท์คำใหม่ให้ติดตลาดของโลกโซเชียลมีเดีย ก็คือกลเม็ดสร้างสรรค์คำชั้นเทพผสมระหว่างภาษาไทยกับอังกฤษ เช่น เกรียน ก็ผสมกันเป็น เกรีeu”/“เทพ เป็น “Inw”/“นอน เป็น “uou”
         กลเม็ดง่ายๆ ไม่ต้องกดแป้นพิมพ์ Shift คำก็จะกลายเป็นเสียงสั้นและยาวต่างจากคำเดิม เช่น เห็น เป็น เหน” /“กู ก็เป็น กุ”/ “เดี๋ยว เป็น เด๋ว
         กลเม็ดแผลงเป็นคำพ้องเสียงให้ดูเก๋ไม่เหมือนใคร อย่าง ใจ ก็ใช้ จัย”/“เธอ ก็เขียนเป็น เทอ”/“ปัญญา ก็เป็น ปันยา”/“หนู ก็กลายเป็น นู๋”/“หมู ก็เป็น มู๋
         กลเม็ดเติมรูปการันต์ต่อท้ายให้ดูหรูหรารามซิงห์ เช่น เธอ เป็น เทอว์”/“ครับ เป็น คับร์”/“แก
เป็น แกร์
Photobucketตัวอย่างคำตาย  
บ่องตง         =         บอกตรงๆ
ถ่ามตง         =         ถามตรงๆ
ต่อมตง         =         ตอบตรง
เตง              =         ตัวเอง
หยั่มมา         =         อย่ามา
ไรแว๊            =         อะไรวะ
น่ามคาน        =         น่ารำคาญ
อัลไล            =         อะไร
น่าร็อคอ่ะ       =        น่ารักอ่ะ
ไรหรา          =        อะไรเหรอ
ช่ะ               =        ใช่ป่ะ
จุงเบย          =        จังเลย
ฝุด ๆ            =        สุด ๆ
ชิมิ              =         ใช่มั้ย
มะรุ             =         ไม่รู้
มะเปง          =         ไม่เป็น
เมพขิง ๆ       =         เทพขิง ๆ
ขออำไพ       =         ขออภัย
โอป่ะเตง       =        โอเครึเปล่าตัวเอง
คีบับ            =         คือแบบ
จิบิจุ๊บุ        =         จุ๊บ
สะเบย         =         สบาย
กงกง          =         ตรงตรง
ฟิน             =         มาจากคำว่า "ฟินาเล่" มักจะใช้ในเวลาที่รู้สึกว่า "สุดยอด"
อิน             =         มาจากคำว่า "อินเนอร์" มักใช้เวลามีความรู้สึกร่วมไปด้วย อย่างเช่นเวลาฟังเพลง
จิ้น             =         มาจากคำว่า "อิมเมจิ้น" มักใช้เวลาจินตนาการหรือคิดไปเอง
เกรียน         =         การแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ไม่เป็นประโยชน์ โดยเปรียบเทียบมาจากทรงผมของเด็กผู้ชาย ม.ต้น
อั๊ยย่ะ         =         เป็นคำอุทาน บ้างก็ว่าเพี้ยนมาจากคำว่า "ไอหยา" บ้างว่าเป็นภาษาใต้ ส่วนมากจะใช้อุทานในลักษณะค่อนข้างดี เช่น อั๊ยย่ะ น่ารักจัง
ปลวก         =         เป็นคำด่าแนวประชด เปรียบเทียบคนหน้าตาไม่ดีว่าเหมือนปลวก หรืออาจเปรียบเทียบคนที่ชอบมีนิสัยจิกกัดไปทั่วเหมือนปลวกนั่นเอง
เมพขิงๆ      =         เพี้ยนมาจากคำว่า "เทพจริงๆ" ของเหล่าคอเกมออนไลน์ ซึ่งเกิดจากการพิมพ์ผิด เพราะตัวอักษรบนแป้นพิมพ์อยู่ใกล้กัน เนื่องจากต้องทำเวลาในการเล่นเกม

ที่มา : http://www.oknation.net/blog/saranjit/2013/08/19/entry-1
น.ส.ชมพนา ฉัตรเงิน เลขที่ 7
น.ส.วรัญญา ตันติกุล เลขที่ 9
      น.ส.ศิรภัสสร เอิบอิ่มฤท เลขที่ 10

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4

วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558

QR CODE รหัสมหัศจรรย์

QR CODE รหัสมหัศจรรย์

บางคนคงนึกสงสัยว่าสัญลักษณ์นี้คออะไร ? มีความหมายอย่างไร ? สัญลักษณ์นี้มีชื่อเรียกว่า “QR Code” ซึ่ง เราจะพบสัญลักษณ์นี้ได้บ่อยๆ บนพวกสินค้า ป้ายโฆษณา หนังสือ หรือสื่อโฆษณาต่างๆ ของประเทศญี่ปุ่น และ ปัจจุบันจะเริ่มพบเห็นได้แพร่หลายมากขึ้นทวโลกซึ่งรวมถึงบ้านเรา



QR Code คืออะไร ?        หลายๆ คงรู้จักกับ Bar Code กันแล้ว เพราะทุกสนค้า และห้างร้านบ้านเรา ก็มักจะใช้ตัว Bar Code เพื่อ กํากับสินค้า ว่าสินค้าตัวนั้น มีชื่อว่าอะไร ราคาเท่าไหร่ เป็นต้น เพื่อให้คอมพิวเตอร์ได้อ่าน และประมวลได้อย่างรวดเร็ว แต่ข้อเสียของเจ้า Bar Code ก็คือมันจะสามารถอ่านได้เฉพาะจากเครื่องอ่าน Bar Code เท่านั้น       QR Code คืออะไร? QR Code ก็คล้ายกับ Bar Code นั้นแหละคือคือรหัสชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้ โดย QR Code หรือเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า two-dimensional bar code (2D bar code) มันหน้าที่ไว้เก็บข้อมูลต่างๆ ได้เหมือนกันแต่ว่าเร็วกว่า ใช้งานง่ายกว่า และมีลูกเล่นเยอะกว่า Bar Code มากครับ ชื่อของ QR Code นั้นมาจาก นิยามความหมายว่า Quick Response หรือการตอบสนองที่รวดเร็ว ซึ่งมาจากความตั้งใจของผู้คิดค้น ที่จะให QR Code นี้สามารถถูกอ่านได้อยางรวดเร็วนั่นเอง ซึ่ง QR Code นี้ถูกคิดค้นขึ้นในป 1994  โดยบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ชื่อ Denso-Wave และได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์ชื่อ QR Code ไปแล้วทั้งในญี่ปุ่น และทั่วโลก และปัจจุบันตัวสัญลักษณ์ QR  Code นี้ได้รับความนิยม จนกลายเป็นของธรรมดาในญี่ปนไปแล้วQR Code ต่างจาก Barcode อย่างไร

คือ สัญลักษณแบบแท่ง มความหนาบางต่างกัน โดย มีส่วนแนวตั้งที่มีขนาดที่ต่างกัน วางอยู่บนพื้นที่ขาวสลับกัน Bar Code แบบนี้ทำไว้เพื่อ บรรจุข้อมูลที่ต่างกันไม่เกิน 20 ตัวอักษร เป็นการเรียกข้อมูลจากฐานข้อมูลอีกต่อหนึ่ง เหมือนข้อมูลสินค้านั่นเอง
ประโยชน์ของ QR Code
       เราสามารถนํา QR Code มาประยุกต์ใช้ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น แสดง URL ของเว็บไซต์, ข้อความ,เบอร์โทรศัพท์และข้อมูลที่เป็นตัวอักษรได้อีกมากมาย ปัจจุบัน QR Code ถูกนําไปใช้ในหลายๆ ด้านเนื่องจากความ รวดเร็ว เพราะทุกวันนี้คนส่วนใหญ่จะมีมือถือกันทุกคนและมือถือเดี๋ยวนี้ก็มีกล้องเกือบทุกรุ่นแล้ว
       ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดที่สุดของ QR Code คือการแสดง URL ของเว็บไซต์เพราะ URL โดยปกติแล้วจะ จดจํายากเพราะยาวและบางทีก็จะซับซ้อนมาก แต่ด้วย QR Code เราเพียงแค่ยกมือถือมาสแกน QR Code ที่เราพบ เห็นตามผลิตภัณฑ์ต่างๆ, นามบัตร, นิตยสาร ฯลฯ แล้วมือถือ จะลิงค์เข้าเว็บเพจที่ QR Code นั้นๆ บันทึกข้อมูลอยู่ โดยอัตโนมัต
QR Code Reader ที่ใช้ได้สําหรับโทรศัพท์มือถือจะมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่
1. แบบ Real-Time คือ แค่ใ้ช้กล้องในโทรศัพท์มือถือส่อง QR Code ได้ทันที
2. แบบ Snapshot/Capture คือ ต้องเปิดโปรแกรมแล้วถ่ายภาพจากกล้องมือถือ ถ่ายภาพ Code ก่อน แล้วจึง ประมวล Code ออกมา
มือถือ QR Code
      ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เราสามารถติดตั้งซอฟต์แวร์สําหรับอ่าน QR Code หรือ 2D Bar Code นี้ ไว้ในโทรศัพท์มือถือได้ง่ายๆ และเมื่อพบ QR Code ในแมกกาซีน หรือป้ายโฆษณา Bill Board ก็สามารถเอา มือถือไปสแกน แล้วรอซักพักโปรแกรมก็จะแสดงข้อมูลเป็นตัวอักษรขึ้นมา เข่น URL เว็บไซต์หรือข้อมูลอื่นๆ ซึ่งสะดวกและรวดเร็วมาก



นางสาวชมพนา ฉัตรเงิน เลขที่ 7 ม.5/4
นางสาววรัญญา ตันติกุล เลขที่ 9 ม.5/4


นางสาวศิรภัสสร  เอิบอิ่มฤทธิ  เลขที่ 10 ม.5/4


วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2558

poseidon

แนะนำสมาชิก
น.ส. ชมพนา ฉัตรเงิน เลขที่ 7
น.ส. วรัญญา ตันติกุล เลขที่ 9
น.ส. ศิรภัสสร เอิบอิ่มฤทธิ เลขที่ 10
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4