วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2558

Light Reaction

 ปฏิกิริยาใช้แสง 

Photobucket - Video and Image Hosting


การสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นการใช้พลังงานแสงในการสังเคราะห์สาร โดยพลังงานแสงที่พืชได้รับจะถูกสะสมอยู่ในรููปของ ATP และ NADPH กระบวนการนี้เรียกว่าปฏิกิริยาที่ต้องใช้แสง หรือlightreactionซึ่งพืชจะนำสารสองตัวที่ได้นี้ไปถ่ายทอดพลังงานเพื่อช่วยตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ในปฏิกิริยาที่ไม่ต้องใช้แสงหรือdark reaction หรือ Calvin cycle กลายเป็นน้ำตาลและสารประกอบอื่นๆ ในบทนี้จะได้กล่าวถึงปฏิกิริยาที่ต้องใช้แสงเราได้ทราบมาแล้วว่าในใบไม้มีคลอโรพลาสต์ ซึ่งประกอบด้วยเยื่อหุ้ม 2 ชั้น ภายในมีของเหลวเรียกว่า สโตรมา (stroma) ซึ่งเป็นแหล่งที่มีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาที่ไม่ต้องใช้แสงที่บริเวณเยื่อหุ้มชั้นในจะมีโครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายถุงน้ำเรียกว่า ไทลาคอยด์ (thylakoid) ซึ่งจะเรียงซ้อนกันเป็นตั้งเรียกว่ากรานัม(granum)และพบว่าในคลอโรพลาสต์มีกรานัมกระจายอยู่ระหว่างกรานัมมีท่อไทลาคอยด์เชื่อมติดต่อกันเรียกว่าสโตรมาไทลาคอยด์(stromalthylakoid)บนเยื่อหุ้มไทลาคอยด์มีกลุ่มของสารสีที่ทำหน้าที่รับพลังงานจากแสงเพื่อใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงอยู่จำนวนมากแต่ละกลุ่มจะประกอบด้วยสารสีหลายชนิดในพืชชั้นสูงประกอบด้วยคลอโรฟิลส์ เอ คลอโรฟิลล์ บี และแคโรทีนอยด์

แสงแดดที่ส่องกระทบใบไม้สีเขียว บางส่วนจะสะท้อนออกไป บางส่วนทะลุผ่านใบไม้ลงไป และบางส่วนเท่านั้นที่ถูกดูดไว้โดยสารสี  สารสี เช่น คลอโรฟิลล์ส่วนใหญ่ทำหน้าที่ดูดแสง และถ่ายทอดพลังงานของแสงไปเป็นทอดๆ ในทำนองคล้ายกับส่วนบนของกรวยรับพลังงานเพื่อส่งไปยังก้นกรวย เพื่อส่งไปให้คลอโรฟิลล์และสารสีที่อยู่ตรงศูนย์เกิดปฏิกิริยา (reaction center ของระบบแสง I และ II) อนึ่ง จะมีการสูญเสียพลังงานของแสงในรูปของการเรืองแสงและความร้อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น