คำตายที่ใช้กันในโลก Social
การทำความเข้าใจกับวัยรุ่นและวิวัฒนาการทางด้านภาษาเป็นเรื่องที่ต้องเปิดใจกว้างอย่างมาก
เพราะเป็นเรื่องของช่องว่างระหว่างวัยและแฟชั่นภาษาที่อยู่ในเงื่อนไขของยุคสมัย
พจนานุกรมคำใหม่ เป็นพจนานุกรมภาษาไทยที่ราชบัณฑิตยสถานเรียบเรียงขึ้น
มีเนื้อหารวบรวมและให้นิยามคำไทยต่างๆ ที่ไม่ปรากฏในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. 2542 โดยมักเป็นคำตลาด เช่น
ศัพท์วัยรุ่นและสแลง
ตลอดจนคำที่มีความหมายต่างจากในพจนานุกรมดังกล่าวด้วยถือว่าเป็นพัฒนาการของนักภาษาศาสตร์และนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ทางภาษาที่ดีเยี่ยมเรื่องหนึ่ง
โดยทางราชบัณฑิตยสถานตั้งคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมนี้เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2548 มีเป้าหมายจะเผยแพร่พจนานุกรมคำใหม่ทุกๆ 2 ปี โดยขอบเขตการเก็บคำใหม่ตามลักษณะต่างๆ 10 กลุ่ม
1.คำที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น เนติบริกร, เคลียร์พื้นที่, เคลียร์หนี้, เคลียร์ปัญหา, ไข้หวัดนก, อัลไซเมอร์
2.คำที่มีอยู่แล้วแต่มีการใช้ความหมายใหม่ เช่น งาบ, จอด, จิก, เด้ง, แห้ว, กลับลำ, จัดฉาก, โค้งสุดท้าย, เว้นวรรค
3.คำเดิมที่มีการขยายคำใหม่ เช่น เมา-เมาปลิ้น, กรี๊ด-กรี๊ดสลบ, ดัน-ป๋าดัน, เจ๊ดัน, แหง-แหงแก๋, เด็ก-เด็กฝาก, เด็กแนว
4.คำที่พจนานุกรมเก็บไว้แล้ว แต่ขาดตัวอย่างการใช้
ซึ่งทำให้เข้าใจความหมายไม่ชัดเจนพอ ก็จะเพิ่มตัวอย่างให้เห็นวิธี
การใช้ เช่น ขึ้นครู
5.เป็นสำนวนหรือวิธีการเปรียบเทียบที่ยังไม่ได้เก็บไว้ เช่น ล้วงลูก, สะกิดต่อมฮา, ลมบ่จอย, ขายขนมจีบ, ขานรับ
นโยบาย, กลืนเลือด, วางหาบ
6.สำนวนที่มีความหมายใหม่ เช่น เจ้าโลก, เจ้าจำปี, เด็กๆ, แมงปอ, อวบอัด, ไม้ป่าเดียวกัน, ไม้ประดับ, เอกซเรย์
7.เป็นคำเลียนเสียง คำแสดงท่าทาง หรือแสดงอารมณ์ เช่น หวือหวา, แหล็น, แพล็ม, อึมครึม, อึ้มทึ่ง
8.คำภาษาต่างประเทศที่ใช้กันมาก เช่น เม้าส์, คีย์ข้อมูล, อีคิว, อีเมล, คำที่ยืมมาจากภาษาจีน
เช่น โละ, เทียวไล้เทียว
ขื่อ, จุ๊ง, ล่องจุ๊น, ซือแป๋
9.เป็นคำเก่า คำธรรมดา แต่หลุดหลงไปไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับ พ.ศ. 2542 เช่น กันเหนียว, ข้ามชาติ, ให้ทาง, หืดขึ้นคอ, เสือปืนไว
10.เป็นคำวัยรุ่น คำภาษาปาก ซึ่งมีความหมายและที่มาจากที่ต่างๆ เช่น ปิ๊ง, วีน, เว่อร์, ชิวชิว, โป๊ะเชะ, เฝ่ย, นิ้ง, ตึ๋ง
หนืด, ตึ้บ, แอ๊บแบ๊ว, จุ๊บุจุ๊บุ, ชิมิ
ปัจจุบัน พจนานุกรมศัพท์คำใหม่มีออกมาแล้ว 3 เล่ม และมีการพิมพ์ออกมาซ้ำอย่างต่อเนื่อง
โดยมีการทำงานเก็บรวบรวมคำศัพท์ในแต่ละปีอย่างเป็นระบบ
มาดูปฏิกิริยาของศัพท์คำใหม่ที่ยิ่งทวีคูณเพิ่มมากขึ้นในยุคออนไลน์โซเชียลมีเดียรุ่งเรืองเฟื่องฟู
ภาษาลำลองสะดวกปากสบายใจ
เหตุผลของวัยรุ่นในการใช้ศัพท์คำใหม่คือพิมพ์ง่าย ดูทันสมัย
เหมือนมีความคิดสร้างสรรค์ สามารถคิดค้นคำใหม่ๆ ขึ้นมาใช้ได้ ดูสบายๆ
น่ารักอย่างไม่เป็นทางการ และมีทั้งเผลอพิมพ์ผิดและตั้งใจพิมพ์ผิด
และเพื่อแสดงอารมณ์ในขณะนั้นโดยเฉพาะทำให้เพื่อนตลก
การใช้ภาษาไทยพิมพ์นิยมยุคใหม่ของวัยรุ่นแบ่งเป็น 2 โหมดใหญ่ คือ โหมดที่ใช้เวลาพูดในกลุ่ม
กับโหมดที่ใช้เวลาเขียนโดยเฉพาะเวลาออนไลน์ในโซเชียลมีเดีย
การพูดและการเขียนก็จะเคียงคู่กันไป แถมยังมีประเภทคำทับศัพท์ คำอุทาน คำเติมท้ายด้วย โดยศัพท์ใหม่จะกร่อนเสียงให้สั้นลงหรือมีการลากเสียงให้ยาวขึ้นเพื่อเน้นอารมณ์ความรู้สึกจากคำศัพท์ที่ถูกต้องตามปกติ
อาจจะเรียกว่าโหมดแผลงเพี้ยนเสียงก็ได้ อาทิ สัตว์ ก็จะเขียนหรือพูดใหม่ว่า สาด, สรัด, แสด/ตัวเอง ก็จะแผลงว่า
เตง หรือ ตะเอง/ขอบคุณ ก็แปลงเป็น ขอบคุง
เทรนด์ยอดนิยมที่ง่ายที่สุดของวัยรุ่นในการสร้างศัพท์คำใหม่ให้ติดตลาดของโลกโซเชียลมีเดีย
ก็คือกลเม็ดสร้างสรรค์คำชั้นเทพผสมระหว่างภาษาไทยกับอังกฤษ เช่น “เกรียน” ก็ผสมกันเป็น “เกรีeu”/“เทพ” เป็น “Inw”/“นอน” เป็น “uou”
กลเม็ดง่ายๆ ไม่ต้องกดแป้นพิมพ์ Shift คำก็จะกลายเป็นเสียงสั้นและยาวต่างจากคำเดิม
เช่น “เห็น” เป็น “เหน” /“กู” ก็เป็น “กุ”/ “เดี๋ยว” เป็น “เด๋ว”
กลเม็ดแผลงเป็นคำพ้องเสียงให้ดูเก๋ไม่เหมือนใคร อย่าง “ใจ” ก็ใช้ “จัย”/“เธอ” ก็เขียนเป็น “เทอ”/“ปัญญา” ก็เป็น “ปันยา”/“หนู” ก็กลายเป็น “นู๋”/“หมู” ก็เป็น “มู๋”
กลเม็ดเติมรูปการันต์ต่อท้ายให้ดูหรูหรารามซิงห์ เช่น “เธอ” เป็น “เทอว์”/“ครับ” เป็น “คับร์”/“แก”
เป็น “แกร์”
ตัวอย่างคำตาย
บ่องตง = บอกตรงๆ
ถ่ามตง = ถามตรงๆ
ต่อมตง
= ตอบตรง
เตง = ตัวเอง
หยั่มมา = อย่ามา
ไรแว๊ = อะไรวะ
น่ามคาน = น่ารำคาญ
อัลไล = อะไร
น่าร็อคอ่ะ = น่ารักอ่ะ
ไรหรา = อะไรเหรอ
ช่ะ = ใช่ป่ะ
จุงเบย = จังเลย
ฝุด ๆ = สุด ๆ
ชิมิ = ใช่มั้ย
มะรุ = ไม่รู้
มะเปง = ไม่เป็น
เมพขิง ๆ = เทพขิง ๆ
ขออำไพ = ขออภัย
โอป่ะเตง = โอเครึเปล่าตัวเอง
คีบับ = คือแบบ
จิบิ, จุ๊บุ = จุ๊บ
สะเบย = สบาย
กงกง = ตรงตรง
ฟิน
= มาจากคำว่า
"ฟินาเล่" มักจะใช้ในเวลาที่รู้สึกว่า "สุดยอด"
อิน
= มาจากคำว่า
"อินเนอร์" มักใช้เวลามีความรู้สึกร่วมไปด้วย อย่างเช่นเวลาฟังเพลง
จิ้น
= มาจากคำว่า
"อิมเมจิ้น" มักใช้เวลาจินตนาการหรือคิดไปเอง
เกรียน
= การแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
ไม่เป็นประโยชน์ โดยเปรียบเทียบมาจากทรงผมของเด็กผู้ชาย ม.ต้น
อั๊ยย่ะ
= เป็นคำอุทาน
บ้างก็ว่าเพี้ยนมาจากคำว่า "ไอหยา" บ้างว่าเป็นภาษาใต้
ส่วนมากจะใช้อุทานในลักษณะค่อนข้างดี เช่น อั๊ยย่ะ น่ารักจัง
ปลวก
= เป็นคำด่าแนวประชด
เปรียบเทียบคนหน้าตาไม่ดีว่าเหมือนปลวก
หรืออาจเปรียบเทียบคนที่ชอบมีนิสัยจิกกัดไปทั่วเหมือนปลวกนั่นเอง
เมพขิงๆ
= เพี้ยนมาจากคำว่า
"เทพจริงๆ" ของเหล่าคอเกมออนไลน์ ซึ่งเกิดจากการพิมพ์ผิด
เพราะตัวอักษรบนแป้นพิมพ์อยู่ใกล้กัน เนื่องจากต้องทำเวลาในการเล่นเกม
ที่มา : http://www.oknation.net/blog/saranjit/2013/08/19/entry-1
น.ส.ชมพนา ฉัตรเงิน เลขที่ 7
น.ส.วรัญญา ตันติกุล เลขที่ 9
น.ส.ศิรภัสสร เอิบอิ่มฤท เลขที่ 10
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น